วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
สิ่งที่ต้องทำก่อนหน้าฝน ตอนที่1
สงกรานต์ผ่านไปอย่างร้อนระอุเลยครับ ใบไม้ใบหญ้าก็แห้งกรอบและร่วงกันมาก คงรอผลิใบพร้อมหน้าฝนที่จะมาเร็วๆนี้แหละครับ แต่ก่อนฝนจะมาเราคงต้องมาตรวจสอบสภาพบ้านก่อนครับว่าพร้อมรับมือกับหน้าฝนนี้หรือเปล่า เริ่มกันที่หลังคาก่อนครับ ตรวจสอบว่ามีรอยรั่วหรือแตกร้าวบ้างไหมถ้ามีก็จัดการเปลี่ยนซะก่อนเลย(รายการนี้เรียกใช้บริการช่างมืออาชีพเถอะนะครับ..อันตราย) หลังจากตรวจสอบหลังคาแล้วอย่าลืมตรวจสอบ รางน้ำฝน เป็นรายการต่อไป หมั่นตรวจดูเศษใบไม้แห้งที่มาค้างอยู่ว่าอุดรูท่อน้ำทิ้งหรือเปล่า จัดการเอาออกแล้วเทน้ำราดเศษผงตกค้างออกให้หมดเลยครับ ให้ช่างที่ทำหลังคาทำให้พร้อมกันตอนที่ตรวจสอบหลังคาก็ได้ครับสะดวกดี ถ้าที่บ้านท่านมีต้นไม้ใหญ่อยู่ใกล้บ้านแนะนำว่าให้ซื้อตะแกรงลวดกรงไก่ขนาดตาเล็กๆซัก 1×1 ซม.มาครอบรางน้ำฝนตลอดแนวก็พอช่วยได้ครับ(เดี๋ยวนี้มีขายสำเร็จแล้ว) หรืออาจจะตัดแต่งกิ่งไม้ที่ล้ำเข้ามาบนหลังคาออกบ้างก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยได้เช่นกัน……รอติดตามตอนที่ 2 นะครับ
ภาพจาก :www.akekaluck.com
วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554
ปัญหา....หลังน้ำท่วม ตอนที่ 4
เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า จมน้ำหมดเลย ทำไงดี
สิ่งที่ท่านถามมาทั้งหมดนี้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า มอเตอร์ หรือเครื่องกลต่างๆ (อาจจะรวมได้ไปจนถึงรถยนต์ด้วยก็ได้) ล้วนแต่เป็นเครื่องจักรกลที่อย่างเราอย่างท่านไม่น่าประมาท หรือรู้มากเข้าไปแก้ไขซ่อมแซมเอง ขอความกรุณาอย่าเพิ่งใช้ (หากไม่จำเป็นจริงๆๆๆๆ) หากโดนน้ำท่วมแล้ว น้ำเจ้ากรรมไหลเข้าไปในเครื่องเรียบร้อยแล้ว (แถมยังแช่ไว้ด้วย) ถอดออกไปให้ช่างผู้รู้เขาตรวจสอบดูก่อนดีกว่า กรุณาอย่าประมาทเอาไปตากแดดแล้วคิดว่าแห้งแล้วเลยนำไปใช้ต่อ เพราะความชื้นบางส่วนอาจจะฝังอยู่ข้างใน พอเครื่องกลนั้นทำงานโดยใช้กระแสไฟฟ้า อาจทำให้เกิดปัญหากับตัวบ้านหรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากแม้นจำเป็นจริงๆ (ซึ่งผมหวังว่าคงจะไม่มี) ยามจะใช้เครื่องกลเหล่านั้นน่ามีข้อคิด 3 ประการ คือ
1. ตลอดเวลาที่ใช้ต้องมีผู้ใหญ่อยู่ไกล้ๆเสมอ เิดอะไรผิดปกติขึ้นมาต้องดับเครื่องปิดเครื่องทันที
2. ที่คัทเอ๊าท์ไฟฟ้าหลักของบ้าน จะต้องมีฟิวส์ที่มีคุณภาพติดตั้งอยู่เสมอ เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ต้องแน่ใจว่าวงจรไฟฟ้าจะถูกตัดออก
3. เมื่อไรไม่จำเป็นจริงๆแล้ว พอมีเวลาบ้าง และพอมีงบประมาณ กรุณานำไปให้ช่างผู้รู้ตรวจสอบเสีย
วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554
ปัญหา....หลังน้ำท่วม ตอนที่ 3
วอลล์เปเปอร์ และผ้าม่านจมน้ำ เป็นคราบน่าเกลียด แก้ยังไง
ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีกับท่านว่า ท่านคงเป็นผู้มีฐานะบ้าง และคงไม่เดือดร้อนแสนสาหัสดังเช่นประชาชนที่ถูกภัยน้ำท่วมส่วนใหญ่ของประเทศ
เรื่องผ้าม่านคงไม่ใช่ปัญหาใหญ่ที่จะซ่อมแซมดูแล ก็เหมือนกับเสื้อผ้าทั่วไปที่ถูกน้ำท่วม หากแม้นสามารถถอดออกมาซักทำความสะอาดได้ ก็ดำเนินการเสีย แต่หากสกปรกมากและเปื่อยยุ่ย ท่านก็คงต้องหาซื้อมาเปลี่ยนตามสมควร
ส่วนเรื่องวอลล์เปเปอร์นั้น ก็เหมือนกับเรื่องสี หากมีปัญหาเรื่องลอกเรื่องล่อนก็ทำการลอกออกเสีย เพื่อให้ความชื้นในผนังนั้นสามารถระเหยออกมาได้ง่าย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งวอลล์เปเปอร์ที่ทำด้วยไวนีลหรือวัสดุประเภทยาง น่าจะต้องรีบลอกออกเพราะเป็นตัวกักความชื้นในผนังได้อย่างดี ) เมื่อผนังแห้งหมดแล้ว แห้งดีแล้ว จึงให้ช่างปูวอลล์เปเปอร์มาลอกออกแล้วปิดทับเข้าไปให้งดงามครับ
วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554
ปัญหา....หลังน้ำท่วม ตอนที่ 2
สีทาบ้าน ทั้งสีน้ำ สีพลาสติก สีน้ำมัน ฯลฯ ต้องทำอย่างไรบ้าง
เรื่องของการแก้ไขเกี่ยวกับสีทาบ้าน ขอให้เป็นสิ่งสุดท้ายหรือเกือบสุดท้ายที่เราจะซ่อมแซมบ้าน กรุณาอย่าอายใครที่เขาจะมาหาว่าบ้านเราสีกระดำกระด่าง หรือสีลอกเป็นขี้กลาก ปล่อยคนที่เขาดูถูกเราไปเถอะ เพราะเรื่องน้ำท่วมมิใช่กรรมของเราที่ก่อขึ้นมา (อย่างน้อยก็ไม่ใช่ทางตรง) เขาจะว่าอะไรจะดูถูกอย่างไรก็ปล่อยเขาไป (แล้วทำบุญกรวดน้ำให้เขา ลดอวิชชาที่ครอบงำจิตใจเขาด้วย)
สีทุกชนิดที่เราใช้ทาบ้าน (ไม่รวมสีทาเรือ สีทาเครื่องบิน สีทาภายในถังน้ำ) เมื่อถูกความชื้นหนักๆอย่างน้ำท่วมคราวนี้จะต้องมีอันเป็นไปเกือบทุกที .....ข้อคิดสำคัญในเรื่องของสีทาบ้านก็คือปัญหาของสีลอกสีล่อน หลักๆไม่เกิดเพราะคุณภาพของสี แต่เกิดจากความไม่พร้อมของพื้นผิวที่ทาสี หากพื้นผิวที่จะทาสีเกิดความชื้นหรือมีสิ่งสกปรกติดอยู่ ทาสีทับลงไปอย่างไรก็ลอกก็ล่อนออกหมด
ดังนั้นขอให้ใจเย็นๆ อย่าเพิ่งทาสี ทำความสะอาดหรือลอกสีเดิมออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ลอกเฉพาะตรงที่มีปัญหาไม่ใช่ลอกหมดทั้งบ้าน) ทิ้งไว้นานๆ(อาจจะหลายเดือนจนถึงหน้าแล้งฤดูร้อนก็นับว่าไมาสายเกินไป)
วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554
ปัญหา....หลังน้ำท่วม ตอนที่ 1
สวัสดีครับวันนี้สถาปนิกอาสาขอนำบทความดีๆของ อ.ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ เกี่ยวกับการแก้ปัญหาหลังน้ำท่วมที่เกิดขึ้นภายในบ้าน มาให้อ่านกันเห็นว่ามีประโยชน์และเข้ากับสถานการณ์ในขณะนี้
พื้นหลังน้ำท่วม ทั้งพรมทั้งกระเบื้อง ทั้งหินอ่อนหินขัด สกปรกจัง
พื้นสกปรกก็ขอให้ทำความสะอาดเสียก็จบเรื่อง แต่ความน่าสนใจสำหรับพื้นที่ถูกน้ำท่วมก็คือวัสดุปูพื้นที่เสียหายต่างหาก เคยพูดไว้ในข้อต้นๆว่า หากพื้นไม้ปาร์เก้ถูกน้ำท่วมจะต้องทำอย่างไร แก้อย่างไร ตอนนี้อยากจะเล่าให้ทราบถึงเรื่องพื้นปูพรม หากถูกน้ำท่วมคงจะต้องรื้อพรมออกทั้งหมด เพราะปล่อยไว้จะเกิดอาการ "พรมเน่า" ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนท่านชั่นาตาปีทีเดียว เมื่อลอกพรมออกแล้ว นำพรมไปซักและตากแดดให้แห้งแล้วจึงนำมาปูใหม่ (พรมอาจจะยืดจะหดไปบ้างคงจะต้องยอมรับสภาพครับ)
สิ่งสำคัญก็คือตอนที่จะปูทับกลับไป ต้องมั่นใจว่าพื้นคอนกรีตของเรานั้น จะต้องแห้งเพียงพอ มีเวลาให้ความชื้นที่สะสมไว้ในตัวคอนกรีตระเหยออกมาเสียก่อน
วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554
สถาปนิก จะช่วยคนบ้านน้ำท่วมได้อย่างไรบ้าง
บทความนี้เป็นของท่านอาจารย์ ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ ซึ่งประกาศต่อสังคมเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาปนิกไทยได้อย่างชัดเจน ซึ่งบทความนี้เป็นบทความสุดท้ายของหนังสือพอกเก็ตบุ๊คพิมพ์แจกของ มูลนิธิซีเมนต์ไทย ชื่อ " บ้านหลังน้ำท่วม " ร้อยพันปัญหาหลังกระแสน้ำลด
สถาปนิกเป็นคนไทยคนหนึ่ง สถาปนิกเป็นส่วนหนึ้งของสังคม สถาปนิกส่วนใหญ่ของประเทศนี้ร่ำเรียนวิชาติดตัวมา ก็เพราะภาษีราษฎรไทย.....จึงเป็นหน้าที่และภาระกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งที่ลับและที่แจ้งของสถาปนิก ที่จะต้องรับใช้ช่วยเหลือประชาชนในวิชาชีพที่ตนเองเมื่อยามที่ ประชาชนต้องการ
สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นสมาคมของเหล่าสถาปนิกในประเทศไทย ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเหลือทุกท่านที่เดือดร้อนเกี่ยวกับบ้านหลังน้ำท่วม ตามแนวทางวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่ร่ำเรียนมา หากท่านมีปัญหากรุณาติดต่อได้ที่
สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
248/1 ซอยโรงเรียนญี่ปุ่น ถนนพระรามที่ 9
เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
โทรศัพท์ 02-3196555
www.asa.or.th
สถาปนิกเป็นคนไทยคนหนึ่ง สถาปนิกเป็นส่วนหนึ้งของสังคม สถาปนิกส่วนใหญ่ของประเทศนี้ร่ำเรียนวิชาติดตัวมา ก็เพราะภาษีราษฎรไทย.....จึงเป็นหน้าที่และภาระกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งที่ลับและที่แจ้งของสถาปนิก ที่จะต้องรับใช้ช่วยเหลือประชาชนในวิชาชีพที่ตนเองเมื่อยามที่ ประชาชนต้องการ
สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นสมาคมของเหล่าสถาปนิกในประเทศไทย ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเหลือทุกท่านที่เดือดร้อนเกี่ยวกับบ้านหลังน้ำท่วม ตามแนวทางวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่ร่ำเรียนมา หากท่านมีปัญหากรุณาติดต่อได้ที่
สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
248/1 ซอยโรงเรียนญี่ปุ่น ถนนพระรามที่ 9
เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
โทรศัพท์ 02-3196555
www.asa.or.th
วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ผนังบ้านชั้นล่างชื้นจนสีหลุดล่อน
ลูกค้าท่านหนึ่งได้เมล์มาปรึกษาเรื่องผนังบ้านภายนอกชื้นจนสีหลุดล่อน แก้ปัญหาโดยการทาสีแล้วก็ยังเป็นอยู่เหมือนเดิม อันนี้ต้องแก้ที่ต้นเหตุครับ เพราะผนังได้รับความชื้นจากพื้นดินรอบๆอยู่ตลอดเวลา ผมได้ลองเสนอทางแก้ปัญหาไว้ 2 แบบ คือ กรุกระเบื้องลายหินธรรมชาติุสูงขึ้นมาจากพื้นดินสัก 60-80 ซม. ส่วนอีกวิธีคือเทพื้นซีเมนต์รอบบ้านแล้วทำรางระบายน้ำฝังท่อระบายน้ำปิดทับด้านบนด้วยกรวดแม่น้ำซะเลย ให้มันกลมกลืนกับงานจัดสวน วิธีนี้เป็นการตัดความชื้นไม่ให้เข้าสู่ผนังบ้านได้อย่างดี แต่ต้องอาศัยการออกแบบดีๆเพื่อให้ดูกลมกลืนกับสวน ผลพลอยได้ของการแก้ปัญหาทั้งสองอย่าง คือ ทำให้ผนังไม่สกปรกเวลาฝนตกแล้วเศษดินกระเด็นติดผิวผนัง แต่สำหรับบางคนที่ไม่ได้ซีเรียสกับความชื้นดังกล่าวก็ใช้วิธีปลูกไม้พุ่มรอบบ้านปิดบังผนังด้านนอกก็ได้ แต่ต้องมั่นตรวจสอบผนังด้านในบ้านด้วนะครับว่า ความชื้นได้ซึมเข้ามาด้านในจนสร้างความเสียหรือเปล่า
การแก้ปัญหาด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ทาผนังด้านนอกเพื่อไม่ให้ผนังอมความชื้นก็เป็นอีกทางเลือที่น่าสนใจครับ แต่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงในครั้งแรก ลองสอบถามกับศูนย์สีชั้นนำดูครับ เดี๋ยวนี้สีทาบ้านเป็นมากกว่าการทาสีเพื่อความสวยงามแล้วครับ.........
วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554
สถาปนิกอาสากับปัญหาเรื่องเสาเข็ม
วันนี้นึกขึ้นมาได้ว่าอยากเล่าเรื่อง การสร้างบ้านกับการเลือกเสาเข็ม มาตั้งนานแล้ว ผมเคยได้รับฟังปัญหาจากหลายๆท่านถึงปัญหาเพื่อนบ้านใหม่ที่กำลังปลูกบ้านใหม่หรือต่อเติมบ้าน ซึ่งมีการใช้เข็มตอกและทำให้เกิดความเสียหายกับบ้านข้างเคียง บางงานก็เป็นผู้รับเหมาทั่วๆไป บางงานเป็นบริษัทรับสร้างบ้านที่มีเชื่อเสียงเลยทีเดียว ผมไม่เข้าใจว่าถึงกล้าเสี่ยงที่จะใช้เสาเข็มตอกในเมื่อพื้นที่ใกล้เคียงกับบ้านข้างเคียงมากขนาดนั้น อาจจะด้วยมีเครื่องมือหรือเครื่องจักรอยู่แล้วหรือมีเพื่อนทำอาชีพนี้ ถ้าผมจำไม่ผิดการใช้เข็มตอกเราจะต้องมีการก่อสร้างจากอาคารข้างเคียง 10 เมตรขึ้นไป ยิ่งห่างยิ่งดี ถ้าจำเป็นต้องชิดจริงๆก็อาจจะใช้แผ่นเหล็กเสียบลงดินเป็นผนังกันกระเทือนได้เหมือนกัน แต่ค่าก่อสร้างคงจะสูงตามไปด้วย ผมว่าในกรณีที่จะต้องก่อสร้างหรือต่อเติมบ้านใหม่ที่พื้นที่ก่อสร้างอยู่ห่างจากบ้านข้างเคียงต่ำกว่า 10 เมตร ควรจะใช้เข็มเจาะมากกว่า หรือถ้า่ต่อเติมอาคารเพียงชั้นเดียวการเข็มคอนกรีตอัดแรงหกเหลี่ยมก็อาจจะเพียงพอแล้วครับ
ฝากถึงบริษัทรับสร้างบ้านด้วยครับว่า ก่อนคุณตกลงสร้างบ้านกับลูกค้าน่าจะมีผู้เชียวชาญสำรวจสถานที่ก่อสร้างซะก่อน จะได้แจ้งลูกค้าให้ทราบไปเลยว่าบ้านคุณต้องใช้เข็มเจาะ ราคาค่าก่อสร้างเท่านั้นเท่านี้ ดีกว่าปล่อยให้ลูกค้ารับวิบากกรรมตอนบ้านส้รางเสร็จ กลายเป็นศรัตรูกับเพื่อนบ้านไปโดยไม่รู้ตัว....................สถาปนิกอาสา
ฝากถึงบริษัทรับสร้างบ้านด้วยครับว่า ก่อนคุณตกลงสร้างบ้านกับลูกค้าน่าจะมีผู้เชียวชาญสำรวจสถานที่ก่อสร้างซะก่อน จะได้แจ้งลูกค้าให้ทราบไปเลยว่าบ้านคุณต้องใช้เข็มเจาะ ราคาค่าก่อสร้างเท่านั้นเท่านี้ ดีกว่าปล่อยให้ลูกค้ารับวิบากกรรมตอนบ้านส้รางเสร็จ กลายเป็นศรัตรูกับเพื่อนบ้านไปโดยไม่รู้ตัว....................สถาปนิกอาสา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)